ประกาศลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้าน ความหมายคืออะไร

ประกาศลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้าน ความหมายคืออะไร
ประกาศลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้าน ความหมายคืออะไร

ประกาศลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้าน ความหมายคืออะไร และเราได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหนมีคำตอบ

     จากกรณีที่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป ผู้ที่ฝากเงินในสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก จะได้รับความคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงิน (ไม่ใช่ต่อ 1 บัญชี) จากเดิมที่มีวงเงิน 5 ล้านบาท ซึ่งทำให้หลายคนสงสัยว่า เราจะได้รับผลกระทบจากการปรับกฎข้อนี้ตรงไหนบ้าง

กฎหมายการคุ้มครองเงินฝากและวงเงิน

          กฎหมายนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อธนาคารที่เราฝากเงินมีปัญหา ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ดังนั้น ผู้ฝากเงินในธนาคารนั้น จะได้รับเงินคืนแบบชัวร์ ๆ การันตีวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท ตั้งแต่ 11 สิงหาคม เป็นต้นไป โดยเอาเงินทุกบัญชีในธนาคารนั้นมารวมยอด แล้วจ่ายเงินคืนตามเงื่อนไข เช่น
– นาย A มีเงินฝากรวมทุกบัญชีในธนาคารนี้ที่ 5 แสนบาท นาย A ก็จะได้รับเงิน 5 แสนบาททันที
– นาย B มีเงินฝากรวมทุกบัญชีในธนาคารนี้ที่ 2 ล้านบาท นาย B จะได้รับเงินคืน 1 ล้านบาท ตามกฎหมายคุ้มครอง ส่วนอีก 1 ล้านบาทที่เหลือ จะมีโอกาสได้รับคืนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินของธนาคาร อาจจะได้คืนทั้งหมด ได้คืนบางส่วน หรืออาจไม่ได้เลย          อย่างไรก็ตาม กรณีของนาย B ถ้าหากธนาคารเกิดมีปัญหาก่อนวันที่ 11 สิงหาคม นาย B จะได้รับเงินคืน 2 ล้านบาทแบบครบจำนวน เพราะกฎหมายใหม่ยังไม่มีผล (วงเงิน 5 ล้าน)

ประเภทบัญชีที่คุ้มครองเงินฝาก มี 5 ประเภทเท่านั้น ได้แก่

1.เงินฝากกระแสรายวัน
2.เงินฝากออมทรัพย์
3.เงินฝากประจำ
4.บัตรเงินฝาก
5.ใบรับฝากเงิน

          ทั้งนี้ เงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง จะมีสกุลเป็นเงินบาทเท่านั้น

จำนวนสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง

          ประกอบไปด้วย ธนาคารพาณิชย์ไทย 18 แห่ง, สาขาธนาคารต่างประเทศ 12 แห่ง, บริษัทเงินทุน 2 แห่ง และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3 แห่ง รวมทั้งหมด 35 แห่ง

ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ 

-ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)

-ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ  

-ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส

-ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

-ธนาคารซิตี้แบงก์

-ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด

-ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น

-ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

-ธนาคารดอยซ์แบงก์

-ธนาคารมิซูโฮ จำกัด

-ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์

-ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น

-ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์

บริษัทเงินทุน 

-บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)

-บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)

บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 

-บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด

-บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด

-บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด

คนไทยได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน

          จากสถิติที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากรายงาน พบว่า ในวงเงินคุ้มครองไม่เกิน 1 ล้านบาท จะมีผู้ที่ได้รับความคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนที่ 82.07 ล้านราย คิดเป็น 98.03% ของผู้ฝากทั้งระบบ ถือเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

          ถ้าหากเปรียบให้เป็นภาษาชาวบ้านให้เห็นภาพคือ มี 82.07 ล้านบัญชีที่มีเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดเป็น 98.03% ถือเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากนับเป็นจำนวนคนอาจจะนับยาก เพราะว่า 1 คนอาจจะมีหลายบัญชีกระจายหลายธนาคารก็ได้ รวมถึงอาจจะเก็บเงินในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การลงทุนในหุ้น, ประกัน เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บ kapook.comสถาบันคุ้มครองเงินฝาก