สุขภาพ : ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์มากมาย

ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์มากมาย

ขมิ้นชัน Curcuma longa L. ขมิ้นทอง  ขมิ้นหัว  ขมิ้นไข  ขมิ้นหยวก  ขมิ้นแดง  ขี้มิ้น(ใต้,อีสาน) ขมิ้นแกง

วงศ์ Zingiberaceae

        ไม้ล้มลุก  เหง้าหลักรูปไข่  เหง้าแขนงรูปนิ้วมือ  เนื้อในสีเหลืองอมส้ม  กลิ่นเฉพาะตัว  ลำต้นเหนือดินเป็นลำต้นเทียม  ใบเดี่ยว  รูปรีแกมรูปขอบขนาน  ปลายแหลม  ดอกช่อออกที่ซอกของกาบใบ  ใบประดับสีขาวอมเขียว  เรียงซ้อนกัน  กลีบปากสีเหลืองไม่ติดผล

       เหง้า รสฝาดเอียน  สรรพคุณ ขับลม  แก้จุกเสียดแน่นท้อง  แก้บิด แก้ท้องเสีย  บำรุงธาตุ ฟอกโลหิต  แก้เสมหะ  แก้ไข้เพื่อดี  แก้โรคผิวหนัง  ผดผื่นคัน  ลดการอักเสบ  ลดคอเลสเตอรอล  ยั้บยั้งการเป็นพิษต่อตับ  ต้านมะเร็ง  ขับน้ำดี  รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

สาระสำคัญ : เหง้ามี volatile oil, turmerone, zingiberene, curlone, curcuminoid, demethozycurcumin

ขนาดและวิธีใช้

1.ยารับประทาน (ใช้ภายใน)

– ขับลม  แก้จุกเสียดแน่นท้อง  แก้บิด  แก้ท้องเสีย  บำรุงธาตุ ฟอกโลหิต รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ผงขมิ้นแห้ง 500 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 1-2 แคปซูล หลังอาหาร  เช้า – กลางวัน – เย็น และก่อนนอน

– หรือ หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดด  บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นขนาดปลายนิ้วก้อย  รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด หลังอาหาร เช้า – กลางวัน – เย็น และก่อนนอน

2.ใช้ภายนอก

– ฝี แผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย  ใช้ผงขมิ้นหรือใช้เหง้าสดฝนกับน้ำสุก ทาบริเวณที่เป็น
– ผดผื่นคัน ใช้ผงขมิ้นทาบริเวณที่เป็น
– แผลพุพอง ใช้เหง้าแก่ ล้างให้สะอาดบดให้ละเอียด ผสมน้ำมันมะพร้าวทา

ข้อควรระวัง

1. บางคนกินขมิ้นแล้วท้องเสีย  คลื่นไส้ ปวดหัว หรือมีอาการแพ้  ให้หยุดยาทันที
2. ควรระมัดระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดเนื่องจากเสริมฤทธิ์กัน
3. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะการอุดตันของท่อน้ำดี
4. ห้ามใช้ยาในสตรีมีครรภ์ (ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์)

อ้างอิง :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. เภสัชกรรมแผนไทย.2555.
เรียบเรียง – ภาพ : พท.กล้วยไม้